วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ร่ายยาว



ร่ายยาว
การแต่งร่ายยาว ต้องรู้จัก เลือกใช้ ถ้อยคำ และสัมผัสใน ให้มีจังหวะ รับกันสละสลวย เมื่ออ่านแล้ว ให้เกิด ความรู้สึก มีคลื่นเสียง เป็นจังหวะๆ อย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต" และจำนวนคำ ที่ใช้ ในวรรคหนึ่ง ก็ไม่ควรให้ยาว เกินกว่าช่วง ระยะหายใจ ครั้งหนึ่งๆ คือ ควรให้อ่าน ได้ตลอดวรรค แล้วหยุดหายใจได้ โดยไม่ขาดจังหวะ ดูตัวอย่างได้ ในหนังสือ เวสสันดรชาดก ร่ายยาวนี้ ใช้แต่งเทศน์ หรือบทสวด ที่ต้องว่า เป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ และเทศน์ธรรมวัตร เป็นต้น เมื่อจบความ ตอนหนึ่งๆ มักลงท้ายด้วย คำว่า นั้นแล นั้นเถิด นี้แล ฉะนี้แล ด้วยประการฉะนี้ คำนั้นแล นิยมใช้เมื่อ สุดกระแสความตอนหนึ่งๆ หรือจบเรื่อง เมื่อลง นั้นแล ครั้งหนึ่ง เรียกว่า "แหล่" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อ มาจากคำ นั้นแล นั่นเอง เพราะเวลาทำนอง จะได้ยินเสียง นั้นแล เป็น นั้นแหล่

กฏ:
  1. บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ มักจะมีตั้งแต่ 5 วรรคขึ้นไป ก็ไม่กำหนดตายตัวแน่นอน จะมีกี่คำก็ได้แล้วแต่จะเห็นเหมาะมักอยู่ระหว่าง8-13 คำ
  2. สัมผัส มีดังนี้

    คำสุดท้ายของวรรคต้น จะส่งสัมผัสไปยังวรรคต่อไป คำใดก็ได้ยกเว้นคำแรกและคำสุดท้าย ซึ่งไม่นิยมรับสัมผัส ส่วนการส่งและการรับด้วยเอกโท อย่างร่ายที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่ถือเป็นระเบียบเคร่งครัดนักการแต่งร่ายยาวผู้แต่งจะต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ และสัมผัสในให้มีจังหวะรับกันอย่างสละสลวยและจำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่งๆก็ไม่ควรยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจครั้งหนึ่งๆ
               ตัวอย่าง
      โพธิสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ อันสร้างสมดึงส์ปรมัตถบารมี เมื่อจะรับวโรรัตนเรืองศรีแปดประการ แด่สำนักนิท้าวมัฆวานเทเวศร์ ก็ทูลแก่ท้าวสหัสเนตรฉะนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น