วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

อาจารย์ประจำกลุ่มสาระภาษาไทย

 
 
 
 
 
 
                                                           ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ
                                                      น.ส.อุมาภรณ์ วงศ์วิสิฐศักดิ์


  
                                               ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ
                                                   
                                                       ครูชำนาญการ ภาษาไทย

                                              
                                               นางสาวฉัตรยา จันทสี ครู ภาษาไทย

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ร่ายสุภาพ

ร่ายสุภาพ
  1. บทหนึ่งๆ มีตั้งแต่ 5 วรรคขึ้นไป จัดเป็นวรรคละ 5 คำ หรือจะเกิน 5 คำบ้างก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 5 จังหวะในการอ่าน จะแต่งยาวกี่วรรคก็ได้ แต่ตอนจบจะต้องเป็นโคลงสองสุภาพเสมอ
  2. สัมผัส โดย คำสุดท้ายของวรรคหน้า ต้องสัมผัสคำที่ 1 หรือ 2 หรือ 3 เป็นวรรคถัดไปทุกวรรค นอกจากตอนจบจะต้องให้สัมผัสแบบโคลงสองสุภาพ
  3. เอกโท มีบังคับเอก 3 แห่ง และคำโท 3 แห่ง ตามแบบของโคลงสองสุภาพ
  4. ถ้าคำสัมผัสที่ส่งเป็นคำเป็นหรือคำตาย คำที่รับสัมผัสจะต้องเป็นคำเป็นหรือคำตายด้วย และคำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตาย
  5. เติมสร้อยในตอนสุดท้ายของบทได้อีก 2 คำ หรือจะเติมทุกๆ วรรคของบทก็ได้พอถึงโคลงสองต้องงด เว้นไว้แต่สร้อยของโคลงสองเอง สร้อยชนิดนี้ต้องเหมือนกันทุกวรรค เรียกชื่อว่า "สร้อยสลับวรรค"
               ตัวอย่าง
         สรวมสวัสดิวิชัย เกริกกรุงไกรเกรียงยศ เกียรติปรากฏขจรขจาย สบายทั่วแหล่งหล้า ฝนฟ้าฉ่ำชุ่มชล ไพศรพณ์ผลพูนเพิ่ม เหิมใจราษฎร์บำเทิง...ประเทศสยามชื่นช้อย ทุกข์ขุกเข็ญใหญ่น้อย นาศไร้แรงเกษม โสตเทอญ (ลิลิตนิทราชาคริต)
                             ศรีสวัสดิเดชะ ชนะราชอรินทร์ ยินพระยศเกริกเกรียง เพียงพกแผ่นฟากฟ้า
หล้าหล่มเลื่องชัยเชวง เกรงพระเกียรติระย่อ ฝ่อใจห้าวบ่มิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า
เถลิงพระเกียรติฟุ้งฟ้า ลือตรลบแหล่งหล้า โลกล้วนสดุดี

ร่ายยาว



ร่ายยาว
การแต่งร่ายยาว ต้องรู้จัก เลือกใช้ ถ้อยคำ และสัมผัสใน ให้มีจังหวะ รับกันสละสลวย เมื่ออ่านแล้ว ให้เกิด ความรู้สึก มีคลื่นเสียง เป็นจังหวะๆ อย่างที่เรียกว่า "เสียงดิ้น" หรือ "เสียงมีชีวิต" และจำนวนคำ ที่ใช้ ในวรรคหนึ่ง ก็ไม่ควรให้ยาว เกินกว่าช่วง ระยะหายใจ ครั้งหนึ่งๆ คือ ควรให้อ่าน ได้ตลอดวรรค แล้วหยุดหายใจได้ โดยไม่ขาดจังหวะ ดูตัวอย่างได้ ในหนังสือ เวสสันดรชาดก ร่ายยาวนี้ ใช้แต่งเทศน์ หรือบทสวด ที่ต้องว่า เป็นทำนอง เช่น เทศน์มหาชาติ และเทศน์ธรรมวัตร เป็นต้น เมื่อจบความ ตอนหนึ่งๆ มักลงท้ายด้วย คำว่า นั้นแล นั้นเถิด นี้แล ฉะนี้แล ด้วยประการฉะนี้ คำนั้นแล นิยมใช้เมื่อ สุดกระแสความตอนหนึ่งๆ หรือจบเรื่อง เมื่อลง นั้นแล ครั้งหนึ่ง เรียกว่า "แหล่" หนึ่ง ซึ่งเรียกย่อ มาจากคำ นั้นแล นั่นเอง เพราะเวลาทำนอง จะได้ยินเสียง นั้นแล เป็น นั้นแหล่

กฏ:
  1. บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ มักจะมีตั้งแต่ 5 วรรคขึ้นไป ก็ไม่กำหนดตายตัวแน่นอน จะมีกี่คำก็ได้แล้วแต่จะเห็นเหมาะมักอยู่ระหว่าง8-13 คำ
  2. สัมผัส มีดังนี้

    คำสุดท้ายของวรรคต้น จะส่งสัมผัสไปยังวรรคต่อไป คำใดก็ได้ยกเว้นคำแรกและคำสุดท้าย ซึ่งไม่นิยมรับสัมผัส ส่วนการส่งและการรับด้วยเอกโท อย่างร่ายที่กล่าวมาแล้วนั้น ไม่ถือเป็นระเบียบเคร่งครัดนักการแต่งร่ายยาวผู้แต่งจะต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ และสัมผัสในให้มีจังหวะรับกันอย่างสละสลวยและจำนวนคำที่ใช้ในวรรคหนึ่งๆก็ไม่ควรยาวเกินกว่าช่วงระยะหายใจครั้งหนึ่งๆ
               ตัวอย่าง
      โพธิสตฺโต สมเด็จพระบรมโพธิสัตว์ อันสร้างสมดึงส์ปรมัตถบารมี เมื่อจะรับวโรรัตนเรืองศรีแปดประการ แด่สำนักนิท้าวมัฆวานเทเวศร์ ก็ทูลแก่ท้าวสหัสเนตรฉะนี้